หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

ระดับปริญญาเอก

1.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)
2.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)
3.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)

ระยะเวลาการศึกษา

– ระดับปริญญาโทมีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 9 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์

Doctor of Philosophy Program in Communication Arts

                ชื่อปริญญา           

ชื่อเต็ม          ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)
อักษรย่อ      ปร.ด. (นิเทศศาสตร์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ              Doctor of Philosophy (Communication Arts)
 อักษรย่อภาษาอังกฤษ          Ph.D. (Communication Arts)

              คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

                แบบ 1.1

คุณสมบัติเฉพาะ ต้องมีข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้  

1.เป็นอาจารย์หรือผู้สอนในระดับอุดมศึกษาหรือนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีประสบการณ์การสอนอย่างน้อย 3 ปี

2.เป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนในระดับบริหารขั้นต้นอย่างน้อย 3 ปี

3.เป็นผู้ทำงานด้านอื่นๆ ที่มีประสบการณ์การทำวิจัยไม่น้อยกว่า 3 ปี

            วุฒิการศึกษา

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชานิเทศศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง

2.มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.25 จากระบบคะแนน 4 แต้ม หรือเทียบเท่า

3.มีโครงการในการทำดุษฎีนิพนธ์ และ

4.มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

            แบบ 2.1

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง         

2.มีคะแนนเฉลี่ยในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบ 4 แต้มหรือเทียบเท่า หรือมีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา หรือมหาวิทยาลัยกำหนด       

3.มีโครงการในการทำดุษฎีนิพนธ์ และ              

4.มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
Doctor of Philosophy Program in Communication Innovation for Political and Local Administration

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)
อักษรย่อ ปร.ด. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Doctor of Philosophy (Communication Innovation for Political and Local Administration)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ Ph.D. (Communication Innovation for Political and Local Administration)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติทั่วไป
1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการ
การอุดมศึกษาให้การรับรองวิทยฐานะและรับรองปริญญาแล้ว ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่สมัครเข้าศึกษา
2.มีสุขภาพแข็งแรงและต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3.ต้องไม่เคยถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา หรือถูกถอนสถานภาพ การเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิดหรือกระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา ทั้งนี้เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา
คุณสมบัติด้านความรู้ภาษาอังกฤษ
มีความรู้ภาษาอังกฤษ โดยสอบผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษ ดังนี้
1.การทดสอบภาษาอังกฤษ STOU-EPT ด้วย Paper ตั้งแต่ 500 คะแนนขึ้นไป หรือ
2.การทดสอบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-GET) ตั้งแต่ 500 คะแนนขึ้นไป หรือ
3.การทดสอบของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-TEP) ตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป หรือ
4.การทดสอบ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 173 คะแนนด้วยวิธี Computer Based Test (CBT) หรือไม่ต่ำกว่า 62 คะแนนด้วยวิธี Internet Based Test (IBT) หรือ
5.การทดสอบ IELTS ตั้งแต่ 5.5 คะแนน ขึ้นไป หรือ
6.การสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ STOU-EPT (E –Testing) ด้วย computer การสอบทุก part ต้องไม่ต่ำกว่าคะแนน B2 หรือ
7.การสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ STOU-EPT หลังการอบรมเข้มพิเศษ Intensive Training English Course การสอบทุก part ต้องไม่ต่ำกว่าคะแนน B2
ทั้งนี้ ผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ตามข้อ 1. – 7. ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบถึงวันที่ยื่นใบสมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Doctor of Philosophy Program in Communication Arts

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม          ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)
อักษรย่อ        ปร.ด. (นิเทศศาสตร์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ         Doctor of Philosophy (Communication Arts)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ       Ph.D. (Communication Arts)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

คุณสมบัติทั่วไป   
1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาให้การรับรองวิทยฐานะและรับรองปริญญาแล้ว ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรที่สมัครเข้าศึกษา             
2.มีสุขภาพแข็งแรงและต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3.ต้องไม่เคยถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา หรือถูกถอนสถานภาพ การเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิดหรือกระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา ทั้งนี้เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา

คุณสมบัติด้านความรู้ภาษาอังกฤษ
            มีความรู้ภาษาอังกฤษ โดยสอบผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษ ดังนี้
1.การทดสอบภาษาอังกฤษ STOU-EPT ด้วย Paper ตั้งแต่ 500 คะแนนขึ้นไป หรือ   
2.การทดสอบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-GET) ตั้งแต่ 500 คะแนนขึ้นไป หรือ
3.การทดสอบของศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU-TEP) ตั้งแต่ 70 คะแนนขึ้นไป หรือ
4.การทดสอบ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 173 คะแนนด้วยวิธี Computer Based Test (CBT) หรือไม่ต่ำกว่า 62 คะแนนด้วยวิธี Internet Based Test (IBT) หรือ   
5.การทดสอบ IELTS ตั้งแต่ 5.5 คะแนน ขึ้นไป หรือ         
6.การสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ STOU-EPT (E –Testing) ด้วย computer การสอบทุก part ต้องไม่ต่ำกว่าคะแนน B2 หรือ       
7.การสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ STOU-EPT หลังการอบรมเข้มพิเศษ Intensive Training English Course การสอบทุก part ต้องไม่ต่ำกว่าคะแนน B2

                ทั้งนี้ ผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ ตามข้อ 1. – 7. ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบถึงวันที่ยื่นใบสมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช