โครงสร้างการบริหาร
โครงสร้างการบริหารและโครงสร้างองค์กร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


ลักษณะองค์กร
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เป็นสาขาวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2527 นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนนิเทศศาสตร์ในระบบการศึกษาทางไกล เหตุผลสำคัญในการเปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์คือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีการศึกษา อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการจัดตั้งศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้น รวมถึงการมีสำนักพิมพ์และศูนย์การพิมพ์แห่งชาติซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนี ซึ่งสามารถใช้เป็น ห้องปฏิบัติการทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานในการส่งเสริมการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์เป็นอย่างดี ประกอบกับในแผนการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 (พ.ศ.2525–2529) มุ่งเน้นในการพัฒนากำลังคนด้านการสื่อสารมวลชน ดังนั้นโครงการจัดตั้งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ จึงสอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติตามที่ระบุไว้ในแผนดังกล่าว และถือว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญระดับสูง
สาขาวิชานิเทศศาสตร์จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายขอบเขตความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ออกสู่สังคมอย่างกว้างขวางโดยเปิดโอกาสแก่บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดเข้าศึกษาตามความสนใจ รวมถึงมุ่งพัฒนาบุคลากรในภาครัฐและเอกชนที่ต้องการศึกษาเพื่อนำความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ไปเพิ่มพูนวิทยฐานะเป็นส่วนใหญ่ จึงพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีงานทำแล้ว
สภาพแวดล้อมขององค์กร
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (School of Communication Arts) เป็นสาขาวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2527 นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ในระบบการศึกษาทางไกล โดยเหตุผลสำคัญที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์มีดังนี้
1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีปัจจัยพื้นฐานที่พร้อมจะสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ กล่าวคือ มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะต่างๆ มีความชำนาญการในงานด้านสื่อสารมวลชนเป็นพิเศษ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นในการจัดตั้งศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้น นับเป็นส่วนที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. การเปิดสอนวิชานิเทศศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติในการมุ่งพัฒนากำลังคนด้านสื่อสารมวลชนในแผนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 ได้ระบุให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดตั้งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ขึ้น โดยถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญระดับสูง
ปัจจุบันสาขาวิชานิเทศศาสตร์มีการเปิดสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติแบการศึกษาทางไกลใน 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า และระดับบัณฑิตศึกษา โดยหลักสูตรที่สาขาวิชาเปิดสอนเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรี คือ หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต เปิดสอนในปีการศึกษา 2557 ใน 6 กลุ่มวิชา ซึ่งมีความครอบคลุมเนื้อหาทางด้านนิเทศศาสตร์ คือหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โฆษณา และประชาสัมพันธ์ การออกแบบหลักสูตรมีลักษณะยืดหยุ่น กล่าวคือ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาใดก็ได้จากทั้ง 6 กลุ่มตามความสนใจ แต่ผู้สำเร็จการศึกษาต้องเรียนครบจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร
ส่วนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาคือ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต เปิดสอนในปีการศึกษา 2546 และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เปิดสอนในปีการศึกษา 2552 ต่อมาในปีการศึกษา 2557 สาขาวิชาได้เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโทคือ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชานิเทศศาสตร์อาเซียน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอีเลิร์นนิ่งเต็มรูป (100 เปอร์เซ็นต์) และเป็นหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยที่ใช้การสอนเป็นภาษาอังกฤษ และจะเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรการสื่อสารชุมชนในปีการศึกษา 2559
นอกจากนั้น ในภาวะของการเติบโตของการสื่อสารและเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดองค์กรสื่อต่างๆ อย่างมากมาย ทำให้สาขาวิชาได้มีการวางแผนการเปิดหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาโท เพิ่มเติมอีก 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรแขนงวิชาการบริหารกิจการสื่อ และหลักสูตรแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการเสนออนุมัติจาก สกอ. เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา 2560 ทั้งนี้หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าหลักสูตรของสาขาวิชาทั้งที่มีการเปิดการเรียนการสอนแล้ว และหลักสูตรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น ไปจนถึงระดับนานาชาติ
อย่างไรก็ตาม ในยุคเริ่มต้นของการจัดการเรียนการสอนวิชานิเทศศาสตร์ในระบบการศึกษาทางไกลเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย จึงเกิดข้อสงสัยในวงวิชาการและวิชาชีพว่าจะใช้วิธีการสอนอย่างไร ผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกไปจะมีคุณภาพหรือไม่ เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวสาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงได้พัฒนาเอกสารการสอนเพื่อเป็นสื่อหลักให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง เอกสารการสอนที่สาขาวิชานิเทศศาสตร์ผลิตขึ้นนับว่ามีคุณภาพมาตรฐาน เพราะผู้เขียนคือ ผู้ทรงคุณวุฒิในวงวิชาการและวิชาชีพทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย โดยผลงานต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชา ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศศาสตร์ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเอกสารการสอนที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในสถาบันการศึกษาอื่น ทำให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางด้านนิเทศศาสตร์หลายแห่งใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอน นักศึกษาสถาบันอื่นใช้เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ในด้านคุณภาพของเอกสารการสอนนั้นเชื่อได้ว่าถ้านักศึกษาใช้เวลาศึกษาด้วยตนเองอย่างจริงจังก็จะมีความรู้ด้านนิเทศศาสตร์เป็นอย่างดี นอกจากเอกสารการสอนแล้ว สาขาวิชานิเทศศาสตร์ยังจัดให้มีสื่อเสริมอื่นๆ เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ ซีดีเสียงบรรยายประกอบชุดวิชาต่างๆ วีซีดีสำหรับชุดวิชาที่นักศึกษาต้องเห็นภาพ เช่น ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์ ขั้นตอนการผลิตหนังสือพิมพ์ เป็นต้น สำหรับวิชาที่ต้องการให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติงาน เช่น ชุดวิชาที่เกี่ยวการผลิตสื่อต่างๆ ซึ่งนักศึกษาเลือกเรียนการผลิตได้เพียง 1 ชุดวิชาจากชุดวิชาต่อไปนี้คือ ชุดวิชาผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ชุดวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ ชุดวิชาการผลิตหนังสือพิมพ์ ชุดวิชาผลิตภาพยนตร์ ชุดวิชาการผลิตงานโฆษณา และชุดวิชาการผลิตงานประชาสัมพันธ์ นักศึกษาจะต้องเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะที่มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีทั้งการบรรยายโดยวิทยากรในวงวิชาชีพ การศึกษาดูงานองค์กรสื่อต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์โดยตรง และให้นักศึกษาลงมือผลิตสื่อโดยมีห้องปฏิบัติการทันสมัยรองรับ นอกจากนี้นักศึกษายังต้องทำแบบฝึกเสริมทักษะด้วยตนเอง ที่เน้นทักษะในการเขียน เข่น การเขียนบทวิทยุ บทโทรทัศน์ การวางแผนการผลิต การเขียนโครงการ เป็นต้น เพื่อเป็นการเสริมทักษะของแต่ละบุคคลนอกเหนือจากงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายเมื่อมาเข้ารับการฝึกเสริมทักษะ
นอกจากนั้น เพื่อให้การเรียนการสอนชุดวิชาต่างๆ สามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่ออินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนและความทันสมัย ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอก มีการใช้การเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งมากกว่าร้อยละ 50
อนึ่งสิ่งที่ทำให้การเรียนการสอนของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีความโดดเด่นแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นคือ นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา หรือผู้ที่เหลือวิชาเรียนไม่เกิน 3 ชุดวิชา ต้องลงทะเบียนเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์และต้องเข้ารับการอบรมเข้มประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 4 วันครึ่ง นักศึกษาจะเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการกลุ่ม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การพัฒนาตน การพัฒนาบุคลิกภาพของนักนิเทศศาสตร์ การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และการมีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายในหัวข้อเส้นทางสู่วิชาชีพ โดยนักวิชาชีพนิเทศศาสตร์แขนงต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษามองเห็นช่องทางในการประกอบวิชาชีพ การอมรมเข้มเป็นการประมวลความรู้ที่นักศึกษาได้ศึกษามาตลลอดหลักสูตร โดยนำมาจัดอยู่ในรูปของกิจกรรมกลุ่ม การสร้างสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเสรี โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มซึ่งเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ให้คำแนะนำและสรุปผลการเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ
การออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวเอื้ออำนวยให้การเรียนการสอนนิเทศศาสตร์ในระบบทางไกลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สาขาวิชา นิเทศศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก และบัณฑิตที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพต่างก็ยืนยันว่า ได้นำวิชาที่ศึกษาจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยเฉพาะความรู้ในเอกสารการสอน และวิธีการอบรมเข้มไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและการศึกษาต่อในระดับสูง
จากการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวจึงสะท้อนออกมาที่คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ก่อนการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรได้มีการศึกษาความพร้อมและความเป็นไปได้ เริ่มจากการศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ของสถาบันอื่นทั้งภายในและต่างประเทศ มีการเชิญกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ นักวิชาการ นักวิชาชีพ ผู้บริหารกิจการสื่อ และนักศึกษา มาร่วมในการวิพากษ์หลักสูตร รวมทั้งมีการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการเรียนการสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ เพื่อออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ตลาดแรงงาน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยภาพรวมของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ครอบคลุมทักษะ 5 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คุณธรรมจริยธรรม และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีปัจจัยพื้นฐานที่พร้อมจะสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ กล่าวคือ มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะต่างๆ มีความชำนาญการในงานด้านสื่อสารมวลชนเป็นพิเศษ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นในการจัดตั้งศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้น นับเป็นส่วนที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. การเปิดสอนวิชานิเทศศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติในการมุ่งพัฒนากำลังคนด้านสื่อสารมวลชนในแผนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 ได้ระบุให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดตั้งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ขึ้น โดยถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญระดับสูง
ปัจจุบันสาขาวิชานิเทศศาสตร์มีการเปิดสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติแบการศึกษาทางไกลใน 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า และระดับบัณฑิตศึกษา โดยหลักสูตรที่สาขาวิชาเปิดสอนเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรี คือ หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต เปิดสอนในปีการศึกษา 2557 ใน 6 กลุ่มวิชา ซึ่งมีความครอบคลุมเนื้อหาทางด้านนิเทศศาสตร์ คือหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โฆษณา และประชาสัมพันธ์ การออกแบบหลักสูตรมีลักษณะยืดหยุ่น กล่าวคือ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาใดก็ได้จากทั้ง 6 กลุ่มตามความสนใจ แต่ผู้สำเร็จการศึกษาต้องเรียนครบจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร
ส่วนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาคือ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต เปิดสอนในปีการศึกษา 2546 และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เปิดสอนในปีการศึกษา 2552 ต่อมาในปีการศึกษา 2557 สาขาวิชาได้เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโทคือ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชานิเทศศาสตร์อาเซียน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอีเลิร์นนิ่งเต็มรูป (100 เปอร์เซ็นต์) และเป็นหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยที่ใช้การสอนเป็นภาษาอังกฤษ และจะเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรการสื่อสารชุมชนในปีการศึกษา 2559
นอกจากนั้น ในภาวะของการเติบโตของการสื่อสารและเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดองค์กรสื่อต่างๆ อย่างมากมาย ทำให้สาขาวิชาได้มีการวางแผนการเปิดหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาโท เพิ่มเติมอีก 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรแขนงวิชาการบริหารกิจการสื่อ และหลักสูตรแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการเสนออนุมัติจาก สกอ. เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา 2560 ทั้งนี้หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าหลักสูตรของสาขาวิชาทั้งที่มีการเปิดการเรียนการสอนแล้ว และหลักสูตรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น ไปจนถึงระดับนานาชาติ
อย่างไรก็ตาม ในยุคเริ่มต้นของการจัดการเรียนการสอนวิชานิเทศศาสตร์ในระบบการศึกษาทางไกลเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย จึงเกิดข้อสงสัยในวงวิชาการและวิชาชีพว่าจะใช้วิธีการสอนอย่างไร ผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกไปจะมีคุณภาพหรือไม่ เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวสาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงได้พัฒนาเอกสารการสอนเพื่อเป็นสื่อหลักให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง เอกสารการสอนที่สาขาวิชานิเทศศาสตร์ผลิตขึ้นนับว่ามีคุณภาพมาตรฐาน เพราะผู้เขียนคือ ผู้ทรงคุณวุฒิในวงวิชาการและวิชาชีพทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย โดยผลงานต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชา ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศศาสตร์ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเอกสารการสอนที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในสถาบันการศึกษาอื่น ทำให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางด้านนิเทศศาสตร์หลายแห่งใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอน นักศึกษาสถาบันอื่นใช้เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ในด้านคุณภาพของเอกสารการสอนนั้นเชื่อได้ว่าถ้านักศึกษาใช้เวลาศึกษาด้วยตนเองอย่างจริงจังก็จะมีความรู้ด้านนิเทศศาสตร์เป็นอย่างดี นอกจากเอกสารการสอนแล้ว สาขาวิชานิเทศศาสตร์ยังจัดให้มีสื่อเสริมอื่นๆ เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ ซีดีเสียงบรรยายประกอบชุดวิชาต่างๆ วีซีดีสำหรับชุดวิชาที่นักศึกษาต้องเห็นภาพ เช่น ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์ ขั้นตอนการผลิตหนังสือพิมพ์ เป็นต้น สำหรับวิชาที่ต้องการให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติงาน เช่น ชุดวิชาที่เกี่ยวการผลิตสื่อต่างๆ ซึ่งนักศึกษาเลือกเรียนการผลิตได้เพียง 1 ชุดวิชาจากชุดวิชาต่อไปนี้คือ ชุดวิชาผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ชุดวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ ชุดวิชาการผลิตหนังสือพิมพ์ ชุดวิชาผลิตภาพยนตร์ ชุดวิชาการผลิตงานโฆษณา และชุดวิชาการผลิตงานประชาสัมพันธ์ นักศึกษาจะต้องเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะที่มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีทั้งการบรรยายโดยวิทยากรในวงวิชาชีพ การศึกษาดูงานองค์กรสื่อต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์โดยตรง และให้นักศึกษาลงมือผลิตสื่อโดยมีห้องปฏิบัติการทันสมัยรองรับ นอกจากนี้นักศึกษายังต้องทำแบบฝึกเสริมทักษะด้วยตนเอง ที่เน้นทักษะในการเขียน เข่น การเขียนบทวิทยุ บทโทรทัศน์ การวางแผนการผลิต การเขียนโครงการ เป็นต้น เพื่อเป็นการเสริมทักษะของแต่ละบุคคลนอกเหนือจากงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายเมื่อมาเข้ารับการฝึกเสริมทักษะ
นอกจากนั้น เพื่อให้การเรียนการสอนชุดวิชาต่างๆ สามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่ออินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนและความทันสมัย ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอก มีการใช้การเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งมากกว่าร้อยละ 50
อนึ่งสิ่งที่ทำให้การเรียนการสอนของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีความโดดเด่นแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นคือ นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา หรือผู้ที่เหลือวิชาเรียนไม่เกิน 3 ชุดวิชา ต้องลงทะเบียนเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์และต้องเข้ารับการอบรมเข้มประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 4 วันครึ่ง นักศึกษาจะเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการกลุ่ม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การพัฒนาตน การพัฒนาบุคลิกภาพของนักนิเทศศาสตร์ การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และการมีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายในหัวข้อเส้นทางสู่วิชาชีพ โดยนักวิชาชีพนิเทศศาสตร์แขนงต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษามองเห็นช่องทางในการประกอบวิชาชีพ การอมรมเข้มเป็นการประมวลความรู้ที่นักศึกษาได้ศึกษามาตลลอดหลักสูตร โดยนำมาจัดอยู่ในรูปของกิจกรรมกลุ่ม การสร้างสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเสรี โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มซึ่งเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ให้คำแนะนำและสรุปผลการเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ
การออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวเอื้ออำนวยให้การเรียนการสอนนิเทศศาสตร์ในระบบทางไกลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สาขาวิชา นิเทศศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก และบัณฑิตที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพต่างก็ยืนยันว่า ได้นำวิชาที่ศึกษาจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยเฉพาะความรู้ในเอกสารการสอน และวิธีการอบรมเข้มไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและการศึกษาต่อในระดับสูง
จากการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวจึงสะท้อนออกมาที่คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ก่อนการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรได้มีการศึกษาความพร้อมและความเป็นไปได้ เริ่มจากการศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ของสถาบันอื่นทั้งภายในและต่างประเทศ มีการเชิญกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ นักวิชาการ นักวิชาชีพ ผู้บริหารกิจการสื่อ และนักศึกษา มาร่วมในการวิพากษ์หลักสูตร รวมทั้งมีการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการเรียนการสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ เพื่อออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ตลาดแรงงาน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยภาพรวมของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ครอบคลุมทักษะ 5 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คุณธรรมจริยธรรม และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดประสงค์
ปณิธาน
“สาขาวิชานิเทศศาสตร์มีปณิธานเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยคือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิดยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป เพิ่มพูนวิทยฐานะแก่ผู้ประกอบอาชีพและขยายโอกาสทางการศึกษาต่อสำหรับทุกคนเพื่อสนองความต้องการของบุคคลและสังคมด้วยการจัดระบบการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งใช้สื่อการสอนทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ และวิธีการอื่นที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนตามปกติ”
วิสัยทัศน์
“เป็นผู้นำการเรียนการสอนทางไกลด้านนิเทศศาสตร์ในระดับประเทศและสากล”
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่มุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยเปิดชั้นนำของโลกที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกล ให้การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน
พันธกิจ
1. พัฒนาการเรียนการสอนทางไกลด้านนิเทศศาสตร์ โดยมุ่งผลิตบัณฑิตทุกระดับให้ได้มาตรฐานสากลและตอบสนองการพัฒนาสังคมและประเทศ
2. วิจัย ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและสากล
3. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงพัฒนาชุมชน องค์กร สถาบันในสังคม เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคมฐานความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและสากล
4. อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. พัฒนาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ให้เป็นองค์กรเชิงยุทธศาสตร์และองค์กรแห่งการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตบัณฑิตนิเทศศาสตร์ที่มีคุณภาพควบคู่กับคุณธรรม และจริยธรรมในวิชาชีพ โดยจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลและตอบสนองต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ
2. เพื่อสร้างนวัตกรรมการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศด้านนิเทศศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและสากล
3. เพื่อบริการวิชาการและวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์แก่สังคม อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคมฐานความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและสากล
4. เพื่อพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารจัดการของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองการเป็นองค์กรเชิงยุทธศาสตร์และองค์กรแห่งการเรียนรู้
ค่านิยม