โครงสร้างการบริหาร
โครงสร้างการบริหารและโครงสร้างองค์กร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ประธานกรรมการประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (คณบดี)
ผศ.ดร.กานต์ บุญศิริ
รองประธานกรรมการและเลขาณุการประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์
ผศ.ดร.หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล
รองประธานกรรมการประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์
ผศ.ดร.กรกช ขันธบุญ
คณะกรรมการประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์
ประธานกรรมการประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (คณบดี)
ผศ.ดร.กานต์ บุญศิริ
กรรมการ
รศ.ดร.สันทัด ทองรินทร์
กรรมการ
รศ.ดร.มนวิภา วงรุจิระ
กรรมการ
รศ.ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์
กรรมการ
ผศ.ดร.หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล
กรรมการ
อ.ดร.ชนาภา หนูนาค
กรรมการ
ผศ.ดร.กรกช ขันธบุญ
อาจารผู้รับผิดชอบหลักสูตร
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (การสื่อสารดิจิทัล)
ประธานหลักสูตร
อ.ดร.ชนาภา หนูนาค
กรรมการหลักสูตร
รศ.ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.ณัฐสุพงศ์ สุขโสต
กรรมการหลักสูตร
อ.ดร.หัสพร ทองแดง
หลักสูตรมหาบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)
ประธานหลักสูตร
รศ.ดร.สันทัด ทองรินทร์
กรรมการหลักสูตร
รศ. พ.ต.ท. หญิง
ดร.ศิริวรรรณ อนันต์โท
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.ปิยฉัตร ล้อมชวการ
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.มนวิภา วงรุจิระ
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.เสาวนี ชินนาลอง
หลักสูตรมหาบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)
ประธานหลักสูตร
รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว
กรรมการหลักสูตร
รศ. พ.ต.ท. หญิง
ดร.ศิริวรรรณ อนันต์โท
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.ปิยฉัตร ล้อมชวการ
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.กานต์ บุญศิริ
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล
กรรมการหลักสูตร
อ.ดร.หัสพร ทองแดง
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.กรกช ขันธบุญ
หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น)
ประธานหลักสูตร
รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.กานต์ บุญศิริ
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.กรกช ขันธบุญ
หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)
ประธานหลักสูตร
รศ.ดร.มนวิภา วงรุจิระ
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล
กรรมการหลักสูตร
รศ.ดร.สันทัด ทองรินทร์
กรรมการหลักสูตร
ผศ.ดร.เสาวนี ชินนาลอง
กรรมการหลักสูตร
อ.ดร.ชนาภา หนูนาค
เลขานุการกิจ
หัวหน้าหน่วยเลขานุการกิจ
นางสาวสุไรพร เติมทอง
งานส่งเสริมและพัฒนา
นางสาวณภัทร แก้วสะพาน
นายภรัณวัฒน์ ทวีอิสราเมศร์
งานบริหารและธุรการ
นางศรีวิไล งามสุวรรณ
งานบัณฑิตศึกษา
นางสาววรรณภา นิ่มอ่อน
นายอภิสิทธิ เติมทอง
นางสาวทิพย์วรรณ สมสมัย
นางสาวนันท์นภัส มากระดี
ลักษณะองค์กร
สภาพแวดล้อมขององค์กร
ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดประสงค์
ค่านิยม
ลักษณะองค์กร
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เป็นสาขาวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2527 นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนนิเทศศาสตร์ในระบบการศึกษาทางไกล เหตุผลสำคัญในการเปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์คือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีการศึกษา อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการจัดตั้งศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้น รวมถึงการมีสำนักพิมพ์และศูนย์การพิมพ์แห่งชาติซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนี ซึ่งสามารถใช้เป็น ห้องปฏิบัติการทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ จึงเป็นปัจจัยพื้นฐานในการส่งเสริมการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์เป็นอย่างดี ประกอบกับในแผนการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 5 (พ.ศ.2525–2529) มุ่งเน้นในการพัฒนากำลังคนด้านการสื่อสารมวลชน ดังนั้นโครงการจัดตั้งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ จึงสอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติตามที่ระบุไว้ในแผนดังกล่าว และถือว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญระดับสูง
สาขาวิชานิเทศศาสตร์จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายขอบเขตความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ออกสู่สังคมอย่างกว้างขวางโดยเปิดโอกาสแก่บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนดเข้าศึกษาตามความสนใจ รวมถึงมุ่งพัฒนาบุคลากรในภาครัฐและเอกชนที่ต้องการศึกษาเพื่อนำความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ไปเพิ่มพูนวิทยฐานะเป็นส่วนใหญ่ จึงพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีงานทำแล้ว
สภาพแวดล้อมขององค์กร
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (School of Communication Arts) เป็นสาขาวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2527 นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ในระบบการศึกษาทางไกล โดยเหตุผลสำคัญที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์มีดังนี้
1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีปัจจัยพื้นฐานที่พร้อมจะสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ กล่าวคือ มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะต่างๆ มีความชำนาญการในงานด้านสื่อสารมวลชนเป็นพิเศษ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นในการจัดตั้งศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้น นับเป็นส่วนที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. การเปิดสอนวิชานิเทศศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติในการมุ่งพัฒนากำลังคนด้านสื่อสารมวลชนในแผนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 ได้ระบุให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดตั้งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ขึ้น โดยถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญระดับสูง
ปัจจุบันสาขาวิชานิเทศศาสตร์มีการเปิดสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติแบการศึกษาทางไกลใน 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า และระดับบัณฑิตศึกษา โดยหลักสูตรที่สาขาวิชาเปิดสอนเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรี คือ หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต เปิดสอนในปีการศึกษา 2557 ใน 6 กลุ่มวิชา ซึ่งมีความครอบคลุมเนื้อหาทางด้านนิเทศศาสตร์ คือหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โฆษณา และประชาสัมพันธ์ การออกแบบหลักสูตรมีลักษณะยืดหยุ่น กล่าวคือ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาใดก็ได้จากทั้ง 6 กลุ่มตามความสนใจ แต่ผู้สำเร็จการศึกษาต้องเรียนครบจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร
ส่วนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาคือ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต เปิดสอนในปีการศึกษา 2546 และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เปิดสอนในปีการศึกษา 2552 ต่อมาในปีการศึกษา 2557 สาขาวิชาได้เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโทคือ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชานิเทศศาสตร์อาเซียน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอีเลิร์นนิ่งเต็มรูป (100 เปอร์เซ็นต์) และเป็นหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยที่ใช้การสอนเป็นภาษาอังกฤษ และจะเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรการสื่อสารชุมชนในปีการศึกษา 2559
นอกจากนั้น ในภาวะของการเติบโตของการสื่อสารและเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดองค์กรสื่อต่างๆ อย่างมากมาย ทำให้สาขาวิชาได้มีการวางแผนการเปิดหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาโท เพิ่มเติมอีก 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรแขนงวิชาการบริหารกิจการสื่อ และหลักสูตรแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการเสนออนุมัติจาก สกอ. เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา 2560 ทั้งนี้หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าหลักสูตรของสาขาวิชาทั้งที่มีการเปิดการเรียนการสอนแล้ว และหลักสูตรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น ไปจนถึงระดับนานาชาติ
อย่างไรก็ตาม ในยุคเริ่มต้นของการจัดการเรียนการสอนวิชานิเทศศาสตร์ในระบบการศึกษาทางไกลเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย จึงเกิดข้อสงสัยในวงวิชาการและวิชาชีพว่าจะใช้วิธีการสอนอย่างไร ผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกไปจะมีคุณภาพหรือไม่ เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวสาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงได้พัฒนาเอกสารการสอนเพื่อเป็นสื่อหลักให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง เอกสารการสอนที่สาขาวิชานิเทศศาสตร์ผลิตขึ้นนับว่ามีคุณภาพมาตรฐาน เพราะผู้เขียนคือ ผู้ทรงคุณวุฒิในวงวิชาการและวิชาชีพทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย โดยผลงานต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชา ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศศาสตร์ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเอกสารการสอนที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในสถาบันการศึกษาอื่น ทำให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางด้านนิเทศศาสตร์หลายแห่งใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอน นักศึกษาสถาบันอื่นใช้เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ในด้านคุณภาพของเอกสารการสอนนั้นเชื่อได้ว่าถ้านักศึกษาใช้เวลาศึกษาด้วยตนเองอย่างจริงจังก็จะมีความรู้ด้านนิเทศศาสตร์เป็นอย่างดี นอกจากเอกสารการสอนแล้ว สาขาวิชานิเทศศาสตร์ยังจัดให้มีสื่อเสริมอื่นๆ เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ ซีดีเสียงบรรยายประกอบชุดวิชาต่างๆ วีซีดีสำหรับชุดวิชาที่นักศึกษาต้องเห็นภาพ เช่น ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์ ขั้นตอนการผลิตหนังสือพิมพ์ เป็นต้น สำหรับวิชาที่ต้องการให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติงาน เช่น ชุดวิชาที่เกี่ยวการผลิตสื่อต่างๆ ซึ่งนักศึกษาเลือกเรียนการผลิตได้เพียง 1 ชุดวิชาจากชุดวิชาต่อไปนี้คือ ชุดวิชาผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ชุดวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ ชุดวิชาการผลิตหนังสือพิมพ์ ชุดวิชาผลิตภาพยนตร์ ชุดวิชาการผลิตงานโฆษณา และชุดวิชาการผลิตงานประชาสัมพันธ์ นักศึกษาจะต้องเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะที่มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีทั้งการบรรยายโดยวิทยากรในวงวิชาชีพ การศึกษาดูงานองค์กรสื่อต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์โดยตรง และให้นักศึกษาลงมือผลิตสื่อโดยมีห้องปฏิบัติการทันสมัยรองรับ นอกจากนี้นักศึกษายังต้องทำแบบฝึกเสริมทักษะด้วยตนเอง ที่เน้นทักษะในการเขียน เข่น การเขียนบทวิทยุ บทโทรทัศน์ การวางแผนการผลิต การเขียนโครงการ เป็นต้น เพื่อเป็นการเสริมทักษะของแต่ละบุคคลนอกเหนือจากงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายเมื่อมาเข้ารับการฝึกเสริมทักษะ
นอกจากนั้น เพื่อให้การเรียนการสอนชุดวิชาต่างๆ สามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่ออินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนและความทันสมัย ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอก มีการใช้การเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งมากกว่าร้อยละ 50
อนึ่งสิ่งที่ทำให้การเรียนการสอนของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีความโดดเด่นแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นคือ นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา หรือผู้ที่เหลือวิชาเรียนไม่เกิน 3 ชุดวิชา ต้องลงทะเบียนเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์และต้องเข้ารับการอบรมเข้มประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 4 วันครึ่ง นักศึกษาจะเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการกลุ่ม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การพัฒนาตน การพัฒนาบุคลิกภาพของนักนิเทศศาสตร์ การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และการมีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายในหัวข้อเส้นทางสู่วิชาชีพ โดยนักวิชาชีพนิเทศศาสตร์แขนงต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษามองเห็นช่องทางในการประกอบวิชาชีพ การอมรมเข้มเป็นการประมวลความรู้ที่นักศึกษาได้ศึกษามาตลลอดหลักสูตร โดยนำมาจัดอยู่ในรูปของกิจกรรมกลุ่ม การสร้างสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเสรี โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มซึ่งเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ให้คำแนะนำและสรุปผลการเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ
การออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวเอื้ออำนวยให้การเรียนการสอนนิเทศศาสตร์ในระบบทางไกลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สาขาวิชา นิเทศศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก และบัณฑิตที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพต่างก็ยืนยันว่า ได้นำวิชาที่ศึกษาจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยเฉพาะความรู้ในเอกสารการสอน และวิธีการอบรมเข้มไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและการศึกษาต่อในระดับสูง
จากการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวจึงสะท้อนออกมาที่คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ก่อนการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรได้มีการศึกษาความพร้อมและความเป็นไปได้ เริ่มจากการศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ของสถาบันอื่นทั้งภายในและต่างประเทศ มีการเชิญกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ นักวิชาการ นักวิชาชีพ ผู้บริหารกิจการสื่อ และนักศึกษา มาร่วมในการวิพากษ์หลักสูตร รวมทั้งมีการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการเรียนการสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ เพื่อออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ตลาดแรงงาน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยภาพรวมของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ครอบคลุมทักษะ 5 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คุณธรรมจริยธรรม และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีปัจจัยพื้นฐานที่พร้อมจะสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ กล่าวคือ มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะต่างๆ มีความชำนาญการในงานด้านสื่อสารมวลชนเป็นพิเศษ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นในการจัดตั้งศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้น นับเป็นส่วนที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. การเปิดสอนวิชานิเทศศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติในการมุ่งพัฒนากำลังคนด้านสื่อสารมวลชนในแผนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 ได้ระบุให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดตั้งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ขึ้น โดยถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญระดับสูง
ปัจจุบันสาขาวิชานิเทศศาสตร์มีการเปิดสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติแบการศึกษาทางไกลใน 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า และระดับบัณฑิตศึกษา โดยหลักสูตรที่สาขาวิชาเปิดสอนเป็นหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรี คือ หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต เปิดสอนในปีการศึกษา 2557 ใน 6 กลุ่มวิชา ซึ่งมีความครอบคลุมเนื้อหาทางด้านนิเทศศาสตร์ คือหนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โฆษณา และประชาสัมพันธ์ การออกแบบหลักสูตรมีลักษณะยืดหยุ่น กล่าวคือ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาใดก็ได้จากทั้ง 6 กลุ่มตามความสนใจ แต่ผู้สำเร็จการศึกษาต้องเรียนครบจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตร
ส่วนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาคือ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต เปิดสอนในปีการศึกษา 2546 และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เปิดสอนในปีการศึกษา 2552 ต่อมาในปีการศึกษา 2557 สาขาวิชาได้เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาโทคือ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชานิเทศศาสตร์อาเซียน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอีเลิร์นนิ่งเต็มรูป (100 เปอร์เซ็นต์) และเป็นหลักสูตรแรกของมหาวิทยาลัยที่ใช้การสอนเป็นภาษาอังกฤษ และจะเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรการสื่อสารชุมชนในปีการศึกษา 2559
นอกจากนั้น ในภาวะของการเติบโตของการสื่อสารและเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดองค์กรสื่อต่างๆ อย่างมากมาย ทำให้สาขาวิชาได้มีการวางแผนการเปิดหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาโท เพิ่มเติมอีก 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรแขนงวิชาการบริหารกิจการสื่อ และหลักสูตรแขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการเสนออนุมัติจาก สกอ. เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา 2560 ทั้งนี้หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าหลักสูตรของสาขาวิชาทั้งที่มีการเปิดการเรียนการสอนแล้ว และหลักสูตรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น ไปจนถึงระดับนานาชาติ
อย่างไรก็ตาม ในยุคเริ่มต้นของการจัดการเรียนการสอนวิชานิเทศศาสตร์ในระบบการศึกษาทางไกลเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย จึงเกิดข้อสงสัยในวงวิชาการและวิชาชีพว่าจะใช้วิธีการสอนอย่างไร ผู้ที่สำเร็จการศึกษาออกไปจะมีคุณภาพหรือไม่ เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวสาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงได้พัฒนาเอกสารการสอนเพื่อเป็นสื่อหลักให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง เอกสารการสอนที่สาขาวิชานิเทศศาสตร์ผลิตขึ้นนับว่ามีคุณภาพมาตรฐาน เพราะผู้เขียนคือ ผู้ทรงคุณวุฒิในวงวิชาการและวิชาชีพทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย โดยผลงานต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชา ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศศาสตร์ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเอกสารการสอนที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในสถาบันการศึกษาอื่น ทำให้สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนทางด้านนิเทศศาสตร์หลายแห่งใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอน นักศึกษาสถาบันอื่นใช้เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ในด้านคุณภาพของเอกสารการสอนนั้นเชื่อได้ว่าถ้านักศึกษาใช้เวลาศึกษาด้วยตนเองอย่างจริงจังก็จะมีความรู้ด้านนิเทศศาสตร์เป็นอย่างดี นอกจากเอกสารการสอนแล้ว สาขาวิชานิเทศศาสตร์ยังจัดให้มีสื่อเสริมอื่นๆ เช่น รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ ซีดีเสียงบรรยายประกอบชุดวิชาต่างๆ วีซีดีสำหรับชุดวิชาที่นักศึกษาต้องเห็นภาพ เช่น ขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศน์ ขั้นตอนการผลิตหนังสือพิมพ์ เป็นต้น สำหรับวิชาที่ต้องการให้นักศึกษามีทักษะในการปฏิบัติงาน เช่น ชุดวิชาที่เกี่ยวการผลิตสื่อต่างๆ ซึ่งนักศึกษาเลือกเรียนการผลิตได้เพียง 1 ชุดวิชาจากชุดวิชาต่อไปนี้คือ ชุดวิชาผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง ชุดวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ ชุดวิชาการผลิตหนังสือพิมพ์ ชุดวิชาผลิตภาพยนตร์ ชุดวิชาการผลิตงานโฆษณา และชุดวิชาการผลิตงานประชาสัมพันธ์ นักศึกษาจะต้องเข้ารับการฝึกปฏิบัติเสริมทักษะที่มหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีทั้งการบรรยายโดยวิทยากรในวงวิชาชีพ การศึกษาดูงานองค์กรสื่อต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์โดยตรง และให้นักศึกษาลงมือผลิตสื่อโดยมีห้องปฏิบัติการทันสมัยรองรับ นอกจากนี้นักศึกษายังต้องทำแบบฝึกเสริมทักษะด้วยตนเอง ที่เน้นทักษะในการเขียน เข่น การเขียนบทวิทยุ บทโทรทัศน์ การวางแผนการผลิต การเขียนโครงการ เป็นต้น เพื่อเป็นการเสริมทักษะของแต่ละบุคคลนอกเหนือจากงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายเมื่อมาเข้ารับการฝึกเสริมทักษะ
นอกจากนั้น เพื่อให้การเรียนการสอนชุดวิชาต่างๆ สามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่ออินเทอร์เน็ตเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนและความทันสมัย ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก โดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอก มีการใช้การเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งมากกว่าร้อยละ 50
อนึ่งสิ่งที่ทำให้การเรียนการสอนของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีความโดดเด่นแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นคือ นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษา หรือผู้ที่เหลือวิชาเรียนไม่เกิน 3 ชุดวิชา ต้องลงทะเบียนเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์และต้องเข้ารับการอบรมเข้มประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเป็นเวลา 4 วันครึ่ง นักศึกษาจะเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการกลุ่ม การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี การพัฒนาตน การพัฒนาบุคลิกภาพของนักนิเทศศาสตร์ การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และการมีคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายในหัวข้อเส้นทางสู่วิชาชีพ โดยนักวิชาชีพนิเทศศาสตร์แขนงต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษามองเห็นช่องทางในการประกอบวิชาชีพ การอมรมเข้มเป็นการประมวลความรู้ที่นักศึกษาได้ศึกษามาตลลอดหลักสูตร โดยนำมาจัดอยู่ในรูปของกิจกรรมกลุ่ม การสร้างสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเสรี โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มซึ่งเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ให้คำแนะนำและสรุปผลการเรียนรู้จากกิจกรรมต่างๆ
การออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวเอื้ออำนวยให้การเรียนการสอนนิเทศศาสตร์ในระบบทางไกลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สาขาวิชา นิเทศศาสตร์สามารถผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมเป็นจำนวนมาก และบัณฑิตที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพต่างก็ยืนยันว่า ได้นำวิชาที่ศึกษาจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยเฉพาะความรู้ในเอกสารการสอน และวิธีการอบรมเข้มไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและการศึกษาต่อในระดับสูง
จากการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวจึงสะท้อนออกมาที่คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ก่อนการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรได้มีการศึกษาความพร้อมและความเป็นไปได้ เริ่มจากการศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ของสถาบันอื่นทั้งภายในและต่างประเทศ มีการเชิญกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ นักวิชาการ นักวิชาชีพ ผู้บริหารกิจการสื่อ และนักศึกษา มาร่วมในการวิพากษ์หลักสูตร รวมทั้งมีการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพการเรียนการสอนหลักสูตรนิเทศศาสตร์ เพื่อออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ตลาดแรงงาน และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยภาพรวมของคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ครอบคลุมทักษะ 5 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คุณธรรมจริยธรรม และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดประสงค์
ปณิธาน
“สาขาวิชานิเทศศาสตร์มีปณิธานเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยคือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิดยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป เพิ่มพูนวิทยฐานะแก่ผู้ประกอบอาชีพและขยายโอกาสทางการศึกษาต่อสำหรับทุกคนเพื่อสนองความต้องการของบุคคลและสังคมด้วยการจัดระบบการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งใช้สื่อการสอนทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ และวิธีการอื่นที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนตามปกติ”
วิสัยทัศน์
“เป็นผู้นำการเรียนการสอนทางไกลด้านนิเทศศาสตร์ในระดับประเทศและสากล”
สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่มุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยเปิดชั้นนำของโลกที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกล ให้การศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน
พันธกิจ
1. พัฒนาการเรียนการสอนทางไกลด้านนิเทศศาสตร์ โดยมุ่งผลิตบัณฑิตทุกระดับให้ได้มาตรฐานสากลและตอบสนองการพัฒนาสังคมและประเทศ
2. วิจัย ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและสากล
3. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงพัฒนาชุมชน องค์กร สถาบันในสังคม เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคมฐานความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและสากล
4. อนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. พัฒนาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ให้เป็นองค์กรเชิงยุทธศาสตร์และองค์กรแห่งการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตบัณฑิตนิเทศศาสตร์ที่มีคุณภาพควบคู่กับคุณธรรม และจริยธรรมในวิชาชีพ โดยจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากลและตอบสนองต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ
2. เพื่อสร้างนวัตกรรมการวิจัยพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศด้านนิเทศศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและสากล
3. เพื่อบริการวิชาการและวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์แก่สังคม อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ และสังคมฐานความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและสากล
4. เพื่อพัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารจัดการของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองการเป็นองค์กรเชิงยุทธศาสตร์และองค์กรแห่งการเรียนรู้
ค่านิยม