headmaindoctor2
headmaindoctor2 copy
previous arrow
next arrow

รายละเอียดหลักสูตร

ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)

อักษรย่อภาษาไทย: ปร.ด. (นิเทศศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy (Communication Arts)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ: Ph.D. (Communication Arts)

วัตถุประสงค์

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตทาง นิเทศศาสตร์ให้มีสมรรถนะ ดังนี้
   1.  มีความรู้ความสามารถด้านวิจัยและค้นคว้าเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านนิเทศศาสตร์ได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
   2.  มีวิสัยทัศน์และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสามารถในการวิเคราะห์สภาพปัญหา สภาพแวดล้อมทางนิเทศศาสตร์ คิดแบบองค์รวม และบูรณาการความคิด เพื่อให้คำแนะนำ และถ่ายทอดความรู้ทางนิเทศศาสตร์ได้
   3.  มีความสามารถในการนำความรู้ และหลักการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ทางนิเทศศาสตร์ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้
   4.  มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกสาธารณะเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมในวิชาชีพ

ปรัชญาของหลักสูตร

   1.สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองในสาขาวิชานิเทศศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยในระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบ 4 แต้มหรือเทียบเท่า หรือมีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบัญฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา หรือมหาวิทยาลัยกำหนด และ
   2.มีความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ตามประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง การรับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ภาคต้น ปีการศึกษา 2563
คะแนนผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษไม่เกิน ๒ ปี นับแต่วันสอบของศูนย์ทดสอบ ทางภาษา ดังต่อไปนี้
   ก. TOEFL (Computer based) ไม่ต่ำกว่า ๑๗๓ คะแนน หรือ
   ข. TOEFL (Internet based) ไม่ต่ำกว่า ๖๒ คะแนน หรือ
   ค. IELTS ไม่ต่ำกว่า ๕.๕ คะแนน หรือ
   ง. TU-GET ไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ คะแนน หรือ
   จ. CU-TEP ไม่ต่ำกว่า ๗๐ คะแนน หรือ
   ฉ. TOEIC ไม่ต่ำกว่า ๖๕๐ คะแนน หรือ
   ช. STOU-EPT ไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ คะแนน หรือ
   ซ. STOU-EPT (E-Testing) แต่ละ Part ไม่ต่ำกว่าระดับ B2

****สำหรับผู้ที่ยังไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษ หรือผลสอบยังไม่ถึงเกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

การยื่นใบสมัครหลักสูตรปริญญาเอก
   พร้อมด้วยโครงร่างวิจัย ประกอบด้วย
     1.ชื่อหัวข้อวิจัย
     2.ความสำคัญของหัวข้อวิจัย
     3.วัตถุประสงค์การวิจัย
     4.แนวคิดทฤษฎี
     5.ระเบียบของวิธีวิจัย

หรือติดต่อรองศาสตราจารย์ ดร.มนวิภา วงรุจิระ โทร 087 588 0043
เข้าสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอก สาขานิเทศศาสตร์

 หมายเหตุ  ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 2 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด หรือกระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำ จะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา

รายละเอียดของหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร ของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2558 ดังนี้
แบบ 1.1ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
    ก. หมวดวิชาเฉพาะ 1 ชุดวิชา (ไม่นับหน่วยกิต)
    ข. ดุษฎีนิพนธ์ (48 หน่วยกิต)
    ค. สัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิต (ไม่นับหน่วยกิต)
แบบ 2.1 ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต
    ก. หมวดวิชาเฉพาะ 3 ชุดวิชา (18 หน่วยกิต)
    ข. ดุษฎีนิพนธ์ (36 หน่วยกิต)
    ค. สัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิต (ไม่นับหน่วยกิต)
แบบ 1.1
    ก. หมวดวิชาเฉพาะ 1 ชุดวิชา (ไม่นับหน่วยกิต)
    เลือก 1 ชุดวิชา จากชุดวิชาต่อไปนี้
        17911 ทฤษฎีการสื่อสารและสังคมศาสตร์ขั้นสูง (ไม่นับหน่วยกิต) Advanced Communication and Social Sciences Theories
        17912 การวิจัยทางนิเทศศาสตร์ขั้นสูง (ไม่นับหน่วยกิต) Advanced Research in Communication Arts
    ข. ดุษฎีนิพนธ์ (48 หน่วยกิต)
        17997 ดุษฎีนิพนธ์ (48 หน่วยกิต) Dissertation
    ค. สัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิต (ไม่นับหน่วยกิต)
        17999 สัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิตนิเทศศาสตร์ (ไม่นับหน่วยกิต) Doctoral Professional Experience in Communication Arts
หมายเหตุ ผู้เข้าศึกษาแบบ 1.1 ต้องศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด โดยไม่นับหน่วยกิต
แบบ 2.1
    ก. หมวดวิชาเฉพาะ 3 ชุดวิชา (18 หน่วยกิต)
    บังคับ 2 ชุดวิชา
        17901 ทฤษฎีการสื่อสารและสังคมศาสตร์ขั้นสูง 6 (12-2-2-2) Advanced Communication and Social Sciences Theories
        17902 การวิจัยทางนิเทศศาสตร์ขั้นสูง 6 (12-2-2-2) Advanced Research in Communication Arts
และเลือก 1 ชุดวิชา จากชุดวิชาต่อไปนี้
        17903 สัมมนาประเด็นศึกษาทางนิเทศศาสตร์ 6 (12-2-2-2) Seminar on Issues in Communication Arts
        17913 การสื่อสารเชิงกลยุทธ์และการขับเคลื่อนสังคม 6 (12-2-2-2) Strategic Communication and Social Mobilization
    ข. ดุษฎีนิพนธ์ (36 หน่วยกิต)
        17998 ดุษฎีนิพนธ์ (36 หน่วยกิต) Dissertation
    ค. สัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิต (ไม่นับหน่วยกิต)
        17999 สัมมนาเข้มเสริมประสบการณ์ดุษฎีบัณฑิตนิเทศศาสตร์ (ไม่นับหน่วยกิต)
Doctoral Professional Experience in Communication Arts

รายละเอียดขั้นตอนการสมัครและดาวน์โหลดใบสมัคร คลิก

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร คลิก

กิจกรรมและข่าวประชาสัมพันธ์

เปิดรับสมัครนักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชานิเทศศาสตร์
ตั้งแต่บัดนี้ (20 กุมภาพันธ์) หลักสูตร 3 ปี เรียนออนไลน์ ไม่ต้องลางาน และสัมนาเผชิญหน้า (เสาอาทิตย์)
สอบถามรายละเอียด ปรึกษาการเขียนโครงร่างการวิจัย (เพื่อสมัครสอบ) โทร. 087 588 0043

เชิญชวนทุกท่านอ่าน E-book สรุปสาระสำคัญเสวนาวิชาการ "พลังสื่อสาร ประสบการณ์ขับเคลื่อนสังคม"

ทำไมต้องเรียนปริญญาเอกนิเทศศาสตร์ มสธ.

ภาพกิจกรรม

กรรมการบริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน

รศ.ดร.มนวิภา วงรุจิระ

ประธานหลักสูตร โทร 087-588-0043 คลิก

รศ.ดร.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล

กรรมการหลักสูตร คลิก

รศ.ดร.สันทัด ทองรินทร์

กรรมการหลักสูตร คลิก

ผศ.ดร.เสาวนี ชินนาลอง

กรรมการหลักสูตร

อ.ดร.ชนาภา หนูนาค

กรรมการหลักสูตร คลิก

เชิญชวนทุกท่านอ่าน E-book สรุปสาระสำคัญเสวนาวิชาการ "พลังสื่อสาร ประสบการณ์ขับเคลื่อนสังคม"
โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
1.รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บรรยายหัวข้อ "ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในยุคดิจิทัล"
2. ผศ.ดร.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล อาจารย์สาขานิเทศศาสตร์ มสธ.
บรรยายหัวข้อ "ภาพยนตร์สารคดี การวิจัยและขับเคลื่อนสังคม"
3. รศ.ดร.มนวิภา วงรุจิระ อาจารย์สาขานิเทศศาสตร์ มสธ.
บรรยายหัวข้อ "ชุมชนชายขอบกับการรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล"

จัดทำโดย หลักสูตรปริญญาเอก สาขานิเทศศาสตร์ มสธ.

ระดับปริญญาเอก
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
Doctor of Philosophy Program in Communication Arts

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)
อักษรย่อ ปร.ด. (นิเทศศาสตร์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Doctor of Philosophy (Communication Arts)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ Ph.D. (Communication Arts)
คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองในสาขาวิชานิเทศศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยในระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบ 4 แต้มหรือเทียบเท่า หรือมีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบัญฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา หรือมหาวิทยาลัยกำหนด และ

2.มีความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ตามประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง การรับสมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ภาคต้น ปีการศึกษา 2563
คะแนนผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษไม่เกิน ๒ ปี นับแต่วันสอบของศูนย์ทดสอบ ทางภาษา ดังต่อไปนี้
ก. TOEFL (Computer based) ไม่ต่ำกว่า ๑๗๓ คะแนน หรือ
ข. TOEFL (Internet based) ไม่ต่ำกว่า ๖๒ คะแนน หรือ
ค. IELTS ไม่ต่ำกว่า ๕.๕ คะแนน หรือ
ง. TU-GET ไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ คะแนน หรือ
จ. CU-TEP ไม่ต่ำกว่า ๗๐ คะแนน หรือ
ฉ. TOEIC ไม่ต่ำกว่า ๖๕๐ คะแนน หรือ
ช. STOU-EPT ไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ คะแนน หรือ
ซ. STOU-EPT (E-Testing) แต่ละ Part ไม่ต่ำกว่าระดับ B2

****สำหรับผู้ที่ยังไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษ หรือผลสอบยังไม่ถึงเกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

ยื่นใบสมัครหลักสูตรปริญญาเอกก่อน พร้อมด้วยโครงร่างวิจัย (ประกอบด้วยชื่อหัวข้อวิจัย ความสำคัญของหัวข้อวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย แนวคิดทฤษฎีและระเบียบของวิธีวิจัย)

หรือติดต่อรองศาสตราจารย์ ดร.มนวิภา วงรุจิระ โทร 087 588 0043
เข้าสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาเอก สาขานิเทศศาสตร์

เปิดรับสมัคร นักศึกษาใหม่ระดับ ป.เอก ภาคต้น ปีการศึกษา 2565 สมัครได้แล้ววันนี้

 หมายเหตุ  ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 2 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด หรือกระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำ จะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร คลิก

กรรมการหลักสูตร

รองศาสตราจารย์ ดร.มนวิภา วงรุจิระ ประธานหลักสูตร คลิก
ติดต่อพูดคุยรายละเอียดกับประธานหลักสูตร โทร 087-588-0043

รองศาสตราจารย์ ดร.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล คลิก

รองศาสตราจารย์ ดร.สันทัด ทองรินทร์ คลิก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวนี ชินนาลอง

อาจารย์ ดร.ชนาภา หนูนาค